3.07.2551

วิธีสร้างฟอนต์ด้วยโปรแกรม Frontlab

หลายๆ คนคงไม่รู้จักโปรแกรม FontLab นะครับ เพราะโปรแกรมนี้ไม่ได้เป็นโปรแกรมพื้นฐานของผู้ใช้คอมทั่วไป โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมสร้าง Font ครับ สำหรับตั้งแต่นักทำฟอนต์มือสมัครเล่น และนักสร้างฟอนต์ขั้นสูง ในที่นี้เราได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างสูงจากท่านนายพล ที่ได้พัฒนาฟอนต์ให้สามารถใช้ได้ทุกโปรแกรม แล้วแจกฟอนต์ต้นแบบในการพัฒนาชื่อ NP Naipol Template


redit http://f0nt.com/readme/fontlab/


วิธีลงโปรแกรมอะไรนั่นคงไม่อธิบายนะครับ เรามาเข้าเรื่องการสร้างฟอนต์กันเลย
พอเปิดฟอนต์ขึ้นมามันก็จะอยู่ลักษณะประมาณนี้แหละครับ

เพิ่มเติม: (2 ต.ค.50)
ในตัวอย่างเป็นของเวอร์ชั่น 4 ซึ่งตอนนี้รุ่นล่าสุดมันเป็นเวอร์ชั่น 5 เศษๆ แล้วครับ
หน้าตามันเลยเปลี่ยนแปลงจากที่เห็นในตัวอย่างนิดหน่อย
พอเปิดมาเห็นตารางดังภาพบน ให้สังเกตด้านล่างของตารางจะมีคำว่า Names mode
นั่นแหละครับ กดปุ่มนั้นแล้วเปลี่ยนเป็น Glyph Index จ้ะ


เอาล่ะคงไม่ต้องพูดมาก ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวอักษรที่ต้องการสร้างครับ


เมื่อดับเบิ้ลคลิกเสร็จแล้ว ก็จะขึ้นหน้าต่างมางี้

จากนั้นจะมีเมนูเพิ่มเข้ามาอันนึง คือ Toolbar ครับ
Toolbar
จะประกอบด้วยหลายๆ คำสั่ง ซึ่งแต่ละคำสั่งก็ใช้ในการสร้างหรือแก้ไขฟอนต์ครับ ตามภาพข้างซ้าย

หมายเลข 1 คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเลือก -- เหมือนในโปรแกรมทั่วๆไปนั่นแหละ
หมายเลข 2 คือ ยางลบ คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนะ
หมายเลข 3 คือ มีด ใช้ตัดให้เกิดจุดเพิ่มขึ้นมาครับ
หมายเลข 4 คือ ไม้บรรทัด ไว้สำหรับวัดครับ ลองใช้ดูเดี๋ยวก็รู้เองว่ามีประโยชน์ไง
หมายเลข 5 คือ Magic Wand คทาวิเศษวิ้งๆ ไม่รู้จะอธิบายไงว่ะ ไว้สำหรับเลือกแต่ละส่วนของตัวอักษร
หมายเลข 6 คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเลือก
หมายเลข 7, 8, 9, 10 เนื้อหาหนัก ไม่เหมาะฟ่ะ
หมายเลข 11 คือเครื่องมือที่จะสามารถทำให้ตัวอักษรหมุนได้ ลองใช้ดูเดี๋ยวรู้เอง
หมายเลข 12 Scale - ปรับขนาด
หมายเลข 13 ทำให้ตัวอักษรเอียง
หมายเลข 14 Transform คือการทำให้ตัวอักษรบุบบี้ตามใจชอบ
หมายเลข 15 ลองใช้ดูเดี๋ยวก็รู้เอง
หมายเลข 16 ไม่รู้ฟ่ะอันนี้
หมายเลข 17 ดินสอ
หมายเลข 18 Brush อันนี้ใช้ลากๆ
หมายเลข 19 วงกลม
หมายเลข 20 สี่เหลี่ยม
หมายเลข 21, 22 หลงมา
หมายเลข 23, 24 รู้ไปก็ไม่มีประโยชน์
ส่วนอันที่เทาๆนั้นจะเอามาอธิบายอีกทีครับ

<แทรก: ไม่ต้องอ่านในกรอบนี้ก็ได้>


ฮั่นแน่ งงใช่ไม๊ล่ะ ทำไมผมมีเครื่องมือเยอะกว่าของคุณวะ

วิธีเพิ่มเครื่องมือครับ .. ขั้นแรก คลิกเข้าไปตามภาพเลย

ตรงด้าน Categories ให้ไปที่ Editing Tools แล้วลากตามสบาย (เหมือนใน Microsoft Office) พอได้ที่แล้วก็ปล่อย

ที่นี้ใช้เครื่องมือลูกศรคลุมตัวอักษรทั้งหมดให้ขึ้นเป็นสีแดงๆ แล้วคลิกขวา กด Delete หรือกดแป้น Delete บน Keyboard ก็ได้


หลังจากลบไปแล้วมันก็จะว่างๆ ให้เลือก Brush Tool (หมายเลข 18) แล้วลากเป็นตัวอักษรเลยพะย่ะค่ะ


พอลากเสร็จแว้วมันก็จะขึ้นแบบนี้ ไม่ต้องตกใจ ถูกแล้วครับ


แล้วทีนี้ก็ปรับช่องไฟ (kerning)

เอาทีนี้ มาพูดถึงว่า ลักษณะของหัวแปรงนั้นมีอะไรบ้าง

จากภาพนี้
หมายเลข 1 คือเครื่องมือลากธรรมดา
หมายเลข 2 คือ Auto Color คือถ้าเริ่มคลิกลากจากสีดำ มันก็จะดำ แต่ถ้าคลิกจากสีขาว มันก็จะเป็นยางลบ
หมายเลข 3 คือ พู่กันสีดำธรรมดาๆ นี่แหละ
หมายเลข 4 คือ ยางลบ

ส่วนลักษณะหัวแปรงและขนาดของหัวแปรง ก็เอาไปประยุกต์ใช้กันเอาเอง

เอ้า คราวนี้มาดูชุดตารางวรรณยุกต์กับสระที่เห็นมันซ้ำกันหลายๆ อันของฟอนต์ต้นแบบ NP Template นั้น
ผมลอง Mark สีไว้ให้เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้
สีแดง : คือสระ วรรณยุกต์แบบไม่หลบอะไรเลย (ตำแหน่งปกติ เช่นคำว่า อิ)
น้ำเงิน : คือสระ วรรณยุกต์ที่หลบหาง ป ปลา ฝ ฝา และ ฟ ฟัน (เช่นคำว่า ปี่ --ลองสังเกตดีๆ จะเห็นสระอีมันหลบซ้ายไปหน่อยนึง)
ฟ้า : คือวรรณยุกต์ตำแหน่งสูง เพื่อหลบสระอิอีอึอื ฯลฯ (เช่นไม้เอกของคำว่า พี่)
ม่วง : คือวรรณยุกต์ที่เยื้องขึ้นไปข้างบนเพื่อลบสระจำพวกสระอิอีอึอือและไม้หันอากาศ รวมทั้งเยื้องไปด้านซ้ายเพื่อหลบหาง
เขียว : คือสระ อุ อู และพินทุที่หลบหางตัว ฎ และ ฏ (เช่นคำว่า กระฎุมภี -- ฟอนต์ที่เห็นในเว็บนี่ไม่ได้ทำหลบเอาไว้เลยมองไม่เห็นครับ)

สำหรับ Gypth อื่นๆ ก็ออกแบบกันตามสบายเลยครับ โดยสังเกตเอาจากชื่อของแต่ละ Gypth ก็จะพอเข้าใจ (เช่น kokai = ก.ไก่)

หมายเหตุ ฟอนต์ต้นแบบนี้เค้าใช้เลขอาระบิคแทนเลขไทยเอาไว้ ..ก็ให้ ใส่เลขไทยลงไปแทนที่เลขอาระบิคในภาพนะครับ

ทีนี้พอเขียนตัวอักษรครบทุกช่องแล้ว ก็จัดการตั้งค่าอะไรต่างๆตามมาครับ

คลิกที่เมนู File > Font Info... หรือคลิกปุ่มด้านซ้ายสุดของ Font Panel ก็ได้ มันจะขึ้นเป็นหน้าต่าง Font Info - ชื่อฟอนต์
แล้วมีแถบด้านซ้ายดังนี้

** ส่วนที่ระบายสีเทาในรูป ถ้าไม่จำเป็นไม่ต้องไปยุ่งนะครับ

ให้เริ่มคลิกที่ส่วนของ Name and Copyright จะขึ้นเป็นแบบนี้
จุดที่ 1 ให้ตั้งชื่อฟอนต์ของคุณ เช่น GK Yttrator, 2547'Clev01, Hexic, Zedtre-08 (เอาโว้ย เริ่มแล้วกรู)
จุดที่ 2 ไม่ต้องปรับหรอก คุณคงไม่คิดจะทำฟอนต์ตัวหนาตัวเอียงใช่ไหมล่ะ
จุดที่ 3 ถ้าคุณปรับหมายเลข 2 ก็คลิกตรงนั้นแหละ
จุดที่ 4 กดลงไป เดี๋ยวมันทำให้คุณเอง (ปุ่มรูปเพชรนี่เป็นระบบ Auto ครับ คิดอะไรไม่ออกก็กดแม่งไปเลย)


ต่อไปเป็นจอของ Opentype-specific font names คลิกตรงนั้นก้อพอ
(
บอกแล้วว่ารูปเพชรนี่เป็นระบบอัตโนมัติ เหมือนกล้องปัญญาอ่อนเลย 555)

Copyright Information
จุดที่ 1 เติมชื่อคุณลงไป
จุดที่ 2 เติมปีที่ทำลงไป
จุดที่ 3 เติมข้อความลิขสิทธิ์ลงไป
จุดที่ 4 เติม Trademark (เครื่องหมายการค้า ..แล้วแต่จะโม้)
จุดที่ 5 ขี้เกียจเติมสองอันข้างบนหรือเปล่า กดตรงนี้เลย (กระเบื้องตราเพชรไง)
จุดที่ 6 เอ่อ... ไม่ต้องใส่ก็ได้ (ทิ้งเอาไว้ยังงี้แหละ เป็นหารให้เกียรติฟอนต์ต้นแบบ)

Designer Information
อยากโฆษณาตัวเองไหม ถ้าใช่ เติมไปเลย (คงอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกขนาดนั้นมั้ง)
(
หมายเหตุจาก บ.ก. -- หน้านี้ไอ้เจ้าซาฟิเร่มันไม่ใส่ภาพมา ผมก็ขี้เกียจ เลยช่างมัน!)


ในส่วนของ Version and Identification ให้เติมเวอร์ชั่นลงไป
ตรงข้างบนเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเวอร์ชั่นที่สามารถใช้ได้กับฟอนต์ทุกแบบ
ส่วนข้างล่างจะเป็นข้อมูลเวอร์ชั่นที่แสดงผลใน TrueType (กดเพชรสิฮ้า---)


Key identification settings
กดเพชรตามเคยถ้าขี้เกียจพิมพ์เอง แล้วก็กด Now เพื่อบอกเวลาสร้างฟอนต์ให้เป็นปัจจุบัน

ต่อไปที่ Metrics and Dimensions จะเป็นการปรับ UPM ;
* UPM
ย่อมาจาก Unit Per eM ซึ่งเป็นการปรับอัตราส่วนของฟอนต์

ในส่วนของ Key dimensions จะเป็นการปรับขนาด-ระยะต่างๆ
Ascender
คือ ระยะด้านบน (ยิ่งมากเท่าไหร่ก็มีที่ให้ไม้เอกไม้โทได้วิ่งเล่นมากขึ้นเท่านั้น แต่บรรทัดจะห่าง)
Deascender
คือ ระยะด้านล่าง (ยิ่งเยอะยิ่งมีที่ให้สระอุอูหายใจได้มาก แต่ มอก. กำหนดไว้แค่ 200.. ซึ่งไม่พอ)
Caps height
คือความสูงของตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่
x height
คือความสูงของตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก
ซึ่งสามารถดูค่าเหล่านี้ได้จากไม้บรรทัดในหน้าต่างการสร้างฟอนต์

ส่วนช่องล่างๆ นี่คือการปรับระดับการเอียงและระดับ-ความหนาของการขีดเส้นใต้ตัวอักษรครับ (ไม่ต้องปรับก็ได้)


ต่อไปเป็นส่วนของ TrueType-specific metrics

ตรงส่วนของ TypoAscender, WinAscent, Ascender ให้ปรับตรงกับ Ascender ในหน้าก่อน (Key dimensions) อย่าลืมเผื่อพวกวรรณยุกต์ด้วยล่ะ และในส่วนของ TypoDescender, WinDescent, Descender ให้ปรับตรงกับ Descender ในหน้าก่อน (Key dimensions) เช่นกัน อย่าลืมเผื่อสระอุ สระอูที่ต่ำๆ ด้วยนะ

หลังจากที่เป็นรูปร่างแล้ว เราก็จะมาจัดการเก็บฟอนต์เสียสักที ด้วยการคลิกที่เมนู
File > Generate font
แ ล้ว Export ไปที่ที่คุณต้องการ
เท่านี้ก็จะมีฟอนต์ของคุณเองแล้วครับ

แต่ถ้าสมมติว่าคุณยังทำฟอนต์ไม่เสร็จแล้วอยากพัก แล้วคุณไม่อยาก Generate Font คุณสามารถ Save ฟอนต์ในรูปของไฟล์ vfb ซึ่งเป็นไฟล์ของ FontLab เองก็ได้ครับ โดยเลือกเมนู
File > Save
เพื่อเลือก Save เป็นชื่อเดิม
และ File > Save as... เพื่อเลือกที่วางไฟล์และชื่อไฟล์ด้วยตนเอง


2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ทำไมรูปภาพ วิธีสร้างฟอนต์ ไม่แสดงออกมาให้ดู?

Unknown กล่าวว่า...

เหมือนหนูเลย =w= สงสัยเปนเพราะใช้D-link
ป่ะ O-O